วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

นิราศนรินทร์คำโคลง


             สวัสดีค่ะนักเรียนทุกคน  วันนี้ครูมานำเสนอ วรรณคดีอีกหนึ่งเรื่อง ของระดับชั้น ม. ๔
คือเรื่อง  นิราศนรินทร์คำโคลง มารับความรู้กันเลยนะคะ

นิราศนรินทร์คำโคลง 
                 เป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์  มีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การกล่าวคร่ำครวญ
ถึงนางอันเป็นที่รัก  ด้วยสำนวนโวหารอันไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์ 
นิราศนรินทร์จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็น  ยอดของนิราศคำโคลง

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทประพันธ์


                      สวัสดีค่ะนักเรียน วันนี้ครูจะมานำเสนอผลงาน  ของนักเรียนชั้น ม.๔/๓  วิชาวรรณคดีมรดกในเรื่องของการแต่งบทประพันธ์  ได้แก่  โคลง ฉันท์  กาพย์  กลอน  และร่าย   ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้ลักษณะของบทประพันธ์แต่ละชนิดพร้อมทั้ง แสดงความสามารถโดยการ
แต่งบทประพันธ์
พร้อมทั้งตั้งชื่อนามปากกาอีกด้วย

บทพากย์เอราวัณ


บทพากย์เอราวัณ
                พบกันอีกครั้งนะคะนักเรียน  สำหรับวันนี้ครูก็มากับบทเรียน วรรณคดีในระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๓ในเรื่อง บทพากย์เอราวัณ  ครั้งนี้ครูสรุปบทเรียนให้อ่านทบทวนกันค่ะ

ผู้ทรงพระราชนิพนธ์          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
ลักษณะคำประพันธ์           กาพย์ฉบัง ๑๖ ใช้สำหรับเป็นคำพากย์หรือบทพากย์ในการแสดง หนังใหญ่
                                                และโขน   
บทพากย์ที่รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ตอน
                                                นางลอย นาคบาศ เอราวัณ

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทละคร เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม

                                พบกันอีกแล้วนะคะนักเรียน  วันนี้ครูมีผลงานการแสดงบทบาทสมมุติของพี่ๆระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มานำเสนอค่ะ  ซึ่งเรื่องหัวใจชายหนุ่มนี้เป็นบทพระราชนิพนธ์ของ
"พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"  



วันภาษาไทย

                     วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี  เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โดยมีพระราชดำรัสไว้ว่า
                     "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล  จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้
ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ  อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง
คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรา
นึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่
ให้ยุ่งยาก"