วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทประพันธ์


                      สวัสดีค่ะนักเรียน วันนี้ครูจะมานำเสนอผลงาน  ของนักเรียนชั้น ม.๔/๓  วิชาวรรณคดีมรดกในเรื่องของการแต่งบทประพันธ์  ได้แก่  โคลง ฉันท์  กาพย์  กลอน  และร่าย   ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้ลักษณะของบทประพันธ์แต่ละชนิดพร้อมทั้ง แสดงความสามารถโดยการ
แต่งบทประพันธ์
พร้อมทั้งตั้งชื่อนามปากกาอีกด้วย


                           คำประพันธ์
                           คำประพันธ์ หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์
โดยมีกำหนดข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้เกิดความครึกครื้นและมีความไพเราะ แตกต่างไปจากถ้อยคำธรรมดา
                          ความเป็นมาของคำประพันธ์ไทย
                          คำประพันธ์ของไทยถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ครั้งใด ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้
แต่ถ้าเชื่อตามที่เคยกล่าวกันมาว่าไทยเป็นชาตินักกลอนแล้ว คำประพันธ์ของไทยต้องมีมาก่อนที่
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  จะทรงประดิษฐ์อักษรไทยในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ แต่เป็นคำประพันธ์ที่บันทึกไว้
ในสมองและถ่ายทอดกันด้วยปาก หรือที่เรียกว่า
กลอนสดนั่นเอง
                          คำประพันธ์หรือบทร้อยกรอง มาปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในวรรณคดีเรื่อง
ลิลิตโองการแช่งน้ำหรือ ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าซึ่งเชื่อกันว่าแต่งใน รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้า-อู่ทอง พ.ศ. ๑๘๒๙ - ๑๙๑๒) เป็นคำประพันธ์ประเภทโคลงกับร่าย
                         ถ้าสังเกตดูในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ ๑ จะมีลักษณะคำประพันธ์ หรือบทร้อยกรอง
เพราะจะเห็นลักษณะซึ่งเกิดจากการใช้คำคล้องจองกัน เช่น
ในน้ำมาปลา ในนามีข้าว
เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย” “ไพร่ฟ้าหน้าใส
                        คำประพันธ์ไทยนี้ สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕
ใช้เรียกวรรณกรรมประเภทที่มีลักษณะบังคับในการแต่ง หรือมีการกำหนดคณะว่า
ร้อยกรอง
ควบคู่กันกับคำว่า ร้อยแก้วอันเป็นความเรียง
                        คำประพันธ์ที่เรียกว่า ร้อยกรอง ในปัจจุบันนี้ โบราณเรียกกันหลายอย่าง เช่น กลอน
ในลิลิตพระลอ” “กาพย์ในกาพย์มหาชาติ ฉันท์ในลิลิตยวนพ่าย กานท์ในทวาทศมาส
และอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า
บทกลอน” “กาพย์กลอน”  “บทกวี” “กวีนิพนธ์” “กวีวัจนะ
บทประพันธ์และ คำประพันธ์
                        ฉันทลักษณ์
                        ฉันทลักษณ์ คือ ตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบ ตามลักษณะบังคับหรือบัญญัติที่นักปราชญ์ได้วางเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์
     
                 คำประพันธ์ที่ดีต้องมีลักษณะสามประการ คือ
                - มีข้อความดี
                - มีสัมผัสดี
                - แต่งถูกต้องตามลักษณะบังคับ

ผลงานของนักเรียน


การจัดทำรูปเล่มของแต่ละกลุ่ม


                                                      ผลงาน น.ส.ภัทรวลี        วงศ์สม  นามปากกา  ภัทรี
                                                                                              

  ผลงาน นายไกรวิชย์    อัครวิบูลย์ชัย  นามปากกา  นายโบราณ
        

  ผลงาน น.ส.เพ็ญสิริ      นิลผาย  นามปากกา  ปรียา

                   นี่เป็นผลงานส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะ ถ้าอยากเห็นผลงานชิ้นอื่นๆก็สามารถมาขอครูดูได้นะคะ
 สำหรับวันนี้ครูลาไปก่อนนะคะ  สวัสดีค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

aaaaa